
นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อม นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรงสาธารณสุข และคณะผู้บริหารกระทรวงสรารณสุข เปิดสถาบันกัญชาทางการแพทย์ เป็นศูนย์กลางความร่วมมือด้านกัญชา กัญชง ให้ความรู้ที่ถูกต้อง พร้อมมอบนโยบายกัญชาเสรีทางการแพทย์ปี 2564 หลังขับเคลื่อนนโบายกัญชา กัญชง ทางการแพทย์จนสามารถปลดล็อกให้บางส่วนของกัญชา กัญชา ออกจากการควบคุมยาเสพติดประเภท 5 เบื้องต้นได้ใช้ทางการแพทย์ ส่งผลให้ปัจจุบันมีผู้ป่วยที่ได้รับยากัญชา กว่า 50,000 ราย จากสถานพยาบาลในสังกัดกระทวงสรารณสุขครอบคลุม 77 จังหวัดทั่วประเทศ
มีกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกกัญชาร่วมกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขกว่า 300 กลุ่ม เพื่อนำผลผลิตที่ได้มาผลิตเป็นน้ำมันกัญชา และส่วนผสมของยากัญชาแผนไทย เพื่อรักษาในกลุ่มโรคต่างๆ เช่น โรคลมชัก โรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งที่มีภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็ง โรคมะเร็ง นอนไม่หลับและอาการเจ็บปวดเรื้อรัง นอกจากการนำไปวิจัยศึกษาทางการแพทย์เพื่อใช้รักษาผู้ป่วยในสถานพยาบาลแล้ว ยังเตรียมเร่งผลักดันให้กัญชาและกัญชงเป็นพืชเศรษฐกิจ เพื่อสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร

นายอนุทิน ยืนยันว่า ประชาชนก็สามารถปลูกกัญชาได้ ในครัวเรือน ละ 6 ต้น แต่ต้องอนุญาตการปลูก จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล หรือ รพ.สต.ใกล้บ้าน ซึ่งต้องปลูกกัญชาเพื่อการแพทย์และการศึกษาวิจัยเท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น การปลูกขายช่อดอกให้กับ รพ.สต.ดังกล่าว ส่วนเปลือก ลำต้น เส้นใย กิ่งก้าน และราก ก็สามารถนำไปประกอบอาหารและเครื่องดื่มในครัวเรือน หรือขายในร้านอาหาร แต่กัญชาต้องเป็นผลผลิตจากผู้ที่ได้รับอนุญาตปลูกที่ถูกต้องตามกฎหมายตาม สามารถบอกถึงที่มาของกัญชา และกัญชงได้
นายอนุทิน ชาญวีรกูล ย้ำว่าส่วนของกัญชาและกัญชงที่ไม่จัดเป็นยาเสพติดซึ่งสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้นั้น ได้แก่ เปลือก ลำต้น เส้นใย กิ่งก้าน และราก ใบซึ่งไม่มียอดหรือช่อดอกติดมาด้วย สารสกัดที่มีสารแคนนาบิไดออล (CBD) เป็นส่วนประกอบ และมีสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (THC) ไม่เกิน 0.2% ตามที่ได้ปรับปรุงกฎหมายและออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท5 พ.ศ. 2563 มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 15 ธ.ค. 2563 ที่ผ่านมา โดยกำหนดให้ส่วนของพืชกัญชาและกัญชง เฉพาะที่ได้รับอนุญาตให้ปลูก ผลิต หรือสกัดในประเทศไทย ไม่จัดเป็นยาเสพติดให้โทษ.
ที่มา: