ในขณะนี้ตำรับยาแผนไทยที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่ในตำราการแพทย์แผนไทย โดยคำแนะนำของกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกและสภาการแพทย์แผนไทย มีทั้งหมด 16 ตำรับ โดยให้เสพเพื่อการรักษาโรค หรือการศึกษาวิจัย เพื่อให้เป็นตามหลักวิชาการ มีคุณภาพมาตรฐานที่กำหนดและนำไปใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ของประเทศ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 12 เมษายน พ.ศ.2562
ประกอบไปด้วย
- ยาอัคคินีวคณะ มาจาก คัมภีร์ธาตุพระนารายน์
- ยาศุขไสยาศน์ มาจาก คัมภีร์ธาตุพระนารายน์
- ยาแก้ลมเนาวนารีวาโย มาจาก ตำรายาศิลาจารึกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
- ยาน้ำมันสนั่นไตรภพ มาจาก ตำรายาศิลาจารึกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
- ยาแก้ลมขึ้นเบื้องสูง มาจาก ตำรายาศิลาจารึกในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
- ยาไฟอาวุธ มาจาก แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม 1 พระยาพิศณุประสาทเวช
- ยาแก้นอนไม่หลับ/ยาแก้ไข้ผอมเหลือง มาจาก แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม 1 พระยาพิศณุประสาทเวช
- ยาแก้สัณฑฆาต กล่อนแห้ง มาจาก แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม 2 พระยาพิศณุประสาทเวช
- ยาอัมฤตโอสถ มาจาก แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม 2 พระยาพิศณุประสาทเวช
- ยาอไภยสาลี มาจาก เวชศึกษา พระยาพิศณุประสาทเวช
- ยาแก้ลมแก้เส้น มาจาก เวชศาสตร์วัณ์ณณา
- ยาแก้โรคจิต มาจาก อายุรเวทศึกษา (ขุนนิทเทสสุขกิจ) เล่ม 2
- ยาไพสาลี มาจาก อายุรเวทศึกษา (ขุนนิทเทสสุขกิจ) เล่ม 2
- ยาทาริดสีดวงทวารหนักและโรคผิวหนัง มาจาก อายุรเวทศึกษา (ขุนนิทเทสสุขกิจ) เล่ม 2
- ยาทำลายพระสุเมรุ มาจาก คัมภีร์แพทย์ไทยแผนโบราณ เล่ม 2 ขุนโสภิตบรรณลักษณ์
- ยาทิพยาธิคุณ มาจาก คัมภีร์แพทย์ไทยแผนโบราณ เล่ม 2 ขุนโสภิตบรรณลักษณ์
โดยในแต่ละตำรับยาจะมีสรรพคุณและวิธีการใช้ที่แตกต่างกันไป ซึ่งในขณะนี้ยังจัดเป็นยาเสพติดให้โทษในประเภทที่ 5 ก่อนใช้ต้องปรึกษาและได้รับการจ่ายยาจากแพทย์แผนไทยที่ผ่านการอบรมมาแล้วเท่านั้น
อ้างอิงแหล่งข้อมูล
- สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยากองควบคุมยาเสพติด.กฎหมาย ประกาศ ระเบียบ [อินเตอร์เน็ต][เข้าถึงเมื่อ 14 ธันวาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก :http://cannabis.fda.moph.go.th/principle/n ภาพจาก https://health.kapook.com/view209729.html